Clip » 10 ข้อ น่ารู้ของคาราโอเกะ by เท็น คาราโอเกะ

10 ข้อ น่ารู้ของคาราโอเกะ by เท็น คาราโอเกะ

30 พฤษภาคม 2019

10 ข้อ น่ารู้ของคาราโอเกะ by เท็น คาราโอเกะ

เมื่อถามถึงคาราโอเกะชั้นนำในเชียงใหม่ที่แลดูจะคุ้นหูคนเชียงใหม่มากที่สุด
หลายคนก็คงจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เท็น คาราโอเกะ” คาราโอเกะเจ้าใหญ่ในตำนาน
ที่อยู่รับใช้ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวมานานกว่า 25 ปีแล้ว

มนุษย์กับเสียงเพลงเป็นสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ ใครๆก็เคยร้องคาราโอเกะกันทั้งนั้น
และหลายๆคนก็ยังรู้จักคาราโอเกะกันแค่ผิวเผินเท่านั้น วันนี้แอดมีบทความสาระดีๆ
จาก “เท็น คาราโอเกะ” เกี่ยวกับที่มาที่ไปของคาราโอเกะมาให้อ่านลับสมองแบบเบาๆกันครับ

 

 10 ข้อ น่ารู้ของคาราโอเกะ by เท็น คาราโอเกะ

1.ความหมายแท้จริงของคำว่า “คาราโอเกะ” (Karaoke) (カラオケ) แยกมาจากคำว่า “คาระ” ( カラ) ความหมายคือ ว่างเปล่า และ “โอเกะ” (オーケ) ย่อมาจากคำว่า “โอเกะซุโตะระ” (オーケストラ) มีความหมายสื่อถึง วงออร์เคสตร้า แล้วคำนี้ก็โดนใช้เป็นศัพท์แสลงไป “คาราโอเกะ” ยังสามารถตีความได้ว่า “วงออร์เคสตร้าที่เสมือนจริง” เพราะเพียงแค่มีคนคุมเครื่องคนเดียวเท่านั้น ก็สามารถจัดการควบคุมดนตรีและเพลงให้เริ่มต้นไปได้โดยไม่ต้องมีวงดนตรีจริงๆก็ยังได้

2.ชายผู้ให้กำเนิดคาราโอเกะคือ “อิโนะอุเอะ ไดสุเกะ” ซึ่งเขาเป็นนักร้องตามผับตามบาร์ที่มีแฟนคลับติดตามฟังเพลงของเขาที่ร้าน “อุตะโกะเอะ คิซซา” ที่เขาไปเล่นดนตรีอยู่บ่อยๆ แล้วแฟนคลับเหล่านี้ก็ชอบขอร้องให้ช่วยบันทึกการแสดงด้วย เมื่อมีมากเข้า ไดสุเกะ จึงเกิดไอเดีย ทำเครื่องบันทึกเทปราคาถูกที่ให้ลูกค้าหยอดเหรียญ 100 ลงไป แล้วก็จะได้ฟังเพลงจากที่เขาบันทึกไว้ ต่อมาก็ให้ร้านอื่นๆเช่าเครื่องของเขาไปใช้งาน นี่จึงเป็นเครื่องเล่นคาราโอเกะเครื่องแรกของโลกซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970

3.ในปี 2004 นั้นคุณ “อิโนะอุเอะ ไดซุเกะ” ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะผู้คิดค้นระบบคาราโอเกะขึ้น “นับเป็นการเสนอทางเลือกใหม่ให้ผู้คนได้ทนซึ่งกันและกันได้”

4.ย่านที่นิยมใช้คาราโอเกะมากในช่วงแรกคือ “ชินจูกุ” ซึ่งเป็นแหล่งรวมสถานเริงรมย์ของญี่ปุ่นมายาวนาน

5.สำหรับการเข้ามาของคาราโอเกะในประเทศไทยนั้น เริ่มเมื่อช่วงปีพ.ศ.2520 ถนนธนิยะ ย่านสีลม ซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจและพาณิชย์ของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น

6.ยุคนั้นจะเรียกคาราโอเกะว่า “ดนตรี 8 แทร็ค” เพราะเครื่องเล่นและม้วนเทปคล้ายกับเทปเพลงทั่วไป แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า ข้อแตกต่างคือ เมื่อเปิดแล้วจะมีแต่เสียงดนตรีอย่างเดียว ไม่มีเสียงร้องอยู่ด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้ร้องตามใจชอบ

7.ในยุคแรกนั้นยังไม่มีการทำ MV ประกอบเพลงและเนื้อร้องประกอบ วิธีการจึงเป็นแบบการเปิดเสียงดนตรีแล้วคนร้องก็ร้องเอาเอง ต่อมาคาราโอเกะก็เริ่มขยายความนิยมไปทั่ว ตามร้านอาหารชั้นสูง และตามร้านคาเฟ่ จากนั้นจึงเริ่มมาเป็นลักษณะตู้เพลงหยอดเหรียญ ซึ่งร้านอาหารแบบคาเฟ่ที่จับลูกค้าท้องถิ่นนิยมนำมาใช้ ทำให้ตู้คาราโอเกะกระจายตัวไปตามคาเฟ่หลายแห่งในต่างจังหวัด

8.บริษัท “Major Ciniplex” เป็นรายแรกที่มีการเริ่มธุรกิจคาราโอเกะที่มุ่งจับกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และครอบครัว สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นธุรกิจกลางวันที่ไม่ต้องอยู่ในผับในบาร์ รวมถึงการสนับสนุนจากค่ายเพลงหลายแห่งที่เริ่มผลิตแผ่นคาราโอเกะออกมามากขึ้นและเทคโนโลยีเครื่องคาราโอเกะที่เริ่มมีความทันสมัยมากขึ้นด้วย และมีสาขาแรกที่รัชโยธิน จากนั้นจึงขยายเข้าสู่โรงหนังในเครือของตนเอง การร้องเพลงคาราโอเกะจึงกลายเป็นหนึ่งในความบันเทิงที่มาพร้อมกับการชมภาพยนตร์และการเล่นโบว์ลิ่ง

9.ในปีพ.ศ. 2545 ประเทศไทยเริ่มให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดนตรี ในการเผยแพร่และทำซ้ำต่อสาธารณชน ซึ่งนี่เป็นเงื่อนไขของ WTO ที่ต้องการจัดการระบบดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศอย่างจริงจัง ป้องกันปัญหานายทุนหาผลประโยชน์จากผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำหรับในประเทศไทย

10.บริษัทแรกที่เริ่มจัดการค่าลิขสิทธิ์ในธุรกิจคาราโอเกะเป็นค่ายแรกก็คือ “แกรมมี่(GMM)” ค่ายยักษ์ใหญ่ของประเทศ ตามด้วย “RS” และอื่นๆ

#คลื่นเหนือ #northwave10475 #socialcorner #เท็นคาราโอเกะ #tenkaraoke #10ข้อน่ารู้ของคาราโอเกะ
#thebestintown #tenthelivinglegend #ท่องราตรีในเชียงใหม่ไว้วางใจเท็นคาราโอเกะ

 

ติดตามแฟนเพจ ” North Wave 10475 “ <<< คลิ้กเล้ย!!!

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นโดนๆของ ” เท็น คาราโอเกะ “ <<< คลิ้กเล้ย!!!